dont-just-love-earth
K
Knowledge

ไม่ต้องรักโลกก็ได้!! แต่ถ้ารักตัวเอง เราควรรักษ์โลก

หลายครั้งเราอาจจะรู้สึกสงสัย ว่าทำไมการจะรักโลก ต้องเพิ่มความลำบากให้ตัวเองด้วย ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการใช้ชีวิตที่มากขึ้น ใช้พลังงานในการเลือกซื้อเลือกใช้มากขึ้น หรือแม้แต่เสียเงินมากขึ้น 

.

คงจะดีกว่านี้ไหม? ถ้ามันเป็นความรับผิดชอบของเราในฐานะผู้บริโภคมากกว่า “ภาระที่ถูกผลักมาให้”

.

แต่.. โปรดปลอบตัวเองอยู่เสมอว่า นี่คือการรักตัวเอง ...ในระยะยาว

.

เพราะเอาเข้าจริงแล้ว โลก ไม่ได้มีความต้องการเรา มากเท่ากับที่ “เราต้องการโลก” เผลอ ๆ โลกอาจจะรู้สึกชังหรือสงสารมนุษย์ทั้งหลายที่ใช้ชีวิตไปพร้อม ๆ กับทำลายถิ่นที่อยู่และแหล่งอาหารของตัวเองเสียมากกว่า 

.

ก่อนมีมนุษย์คนแรกเกิด ในเวลาหลายพันล้านปีก่อนหน้า โลกได้เผชิญปัญหามามาก ไม่ว่าจะอุกกาบาตตก ภูเขาไฟระเบิดหรือน้ำท่วมโลก โลกสามารถปรับตัวได้จนกลายเป็นแผ่นดินที่ผู้คนและสิ่งมีชีวิตสามารถอาศัยอยู่ได้ ที่เราเห็นว่าเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ อาจจะเป็นเพียงเพราะโลกกำลังปรับตัวเองอยู่ก็ได้ 

.

ลองคิดเล่น ๆ ให้โลกเป็นคนเหมือนกับเรา เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมที่ต้องการทำร้ายร่างกาย ก็คงมีฮีโร่ภูมิคุ้มกันออกมาต่อสู้ คงจะน่ากลัว ถ้าพวกเรากลายเป็นไวรัสในการมองเห็นของโลกที่ต้องการกำจัดเพื่อรักษาตัวเองไว้  

.

เพราะฉะนั้น แม้ในวันนี้โลกอาจจะดูแปรปรวนไป ด้วยฝีมือการเร่งของพวกเรา แต่ไม่เร็วก็ช้า โลกจะปรับตัวให้ตัวเองอยู่ได้อย่างแน่นอน ..เพียงแต่วันนั้นจะเป็นวันที่โลกอยากให้มีมนุษย์อยู่ด้วยหรือเปล่า?

.

หากลองมองดี ๆ แล้ว ในแต่ละครั้งที่โลกแสดงอาการป่วยออกมา ใครเป็นผู้รับผลกระทบ? เวลาน้ำท่วม เราบอกได้อย่างไรว่านั่นคือธรรมชาติที่กำลังร้องไห้ แต่เรามั่นใจได้ว่า ผู้คนที่ต้องระหกระเหินจากบ้านตัวเองกำลังร้องไห้อยู่แน่ ๆ 

.

แม้ต่างชนชั้นจะได้รับผลกระทบไม่เท่ากัน และมักจะเป็นคนที่ตัวเล็กที่ได้เผชิญหน้าอย่างเลี่ยงไม่ได้ก็ตาม แต่ก็เหมือนการแพร่เชื้อไวรัส วิธีการที่ดีที่สุดคือ ไม่ใช่แค่ตัวเองได้รับการป้องกัน แต่เป็นทุกคนในสังคมได้รับการป้องกัน เมื่อนั้นจะมั่นใจได้ว่าทุกคนจะปลอดภัย 

.

ทุกคนสามารถช่วยกันรับมือได้ ด้วยบทบาทความรับผิดชอบของตัวเอง ไม่ผลักภาระให้เป็นของคนใดคนหนึ่ง

  1. หากเป็นผู้ผลิต คำนึงถึงผลในระยะยาวให้มากขึ้น ถ้าสินค้าเราต้องการทำให้ชีวิตผู้บริโภคดีขึ้น ก็ไม่ควรจะทำลายสังคมและสิ่งแวดล้อมของพวกเขาด้วย คิดอย่างใส่ใจตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ

  2. ภาครัฐ ควรสนับสนุนและผลักดันเอกชน ให้ไม่ต้องแบกภาระมากเกินไป และมีมาตรการควบคุมที่เหมาะสมกับสถานการณ์

  3. ส่วนผู้บริโภค ซึ่งเป็นบทบาทหนึ่งของทุกคน

    1. โปรดรักตัวเองให้ยั่งยืนมากขึ้น

    2. “เลือก” ให้มากขึ้น เลือกในสิ่งที่ดีกับตัวเองและโลกของทุกคน

    3. สนับสนุนผู้ผลิตที่กล้าเปลี่ยนเพื่อผู้บริโภค

    4. หากพบว่าสินค้าหลายอย่างราคาสูงกว่า แต่พอมีกำลังจ่าย ลองคิดว่านั่นคือต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมที่เราไม่เคยนำไปคำนวณในการบริโภคเลย และหากสินค้าบางอย่างแพงเกินไป ก็ไม่ใช่ความผิดของผู้บริโภค แต่เพราะยังได้รับการสนับสนุนไม่มากพอ (แนะนำให้ใช้เสียงของตัวเองเรียกร้องและลองหาทางจัดการแบบอื่นแทน เช่น จำเป็นต้องซื้อแพ็คเกจจิ้งที่รีไซเคิลไม่ได้ ให้หาช่องทางทิ้งแบบ eco-friendly เช่น ส่งไปเผาทำเชื้อเพลิงหรือส่งไปที่ที่รับรีไซเคิลเฉพาะอย่าง) 

.

.

NATURE DOESN’T NEED PEOPLE … PEOPLE NEED NATURE.

รับฟังเสียงธรรมชาติได้ที่ https://youtu.be/WmVLcj-XKnM 

.

#AsGreenAsYouCan #littlebiggreen

 

 

Quiz

Sharing Green Shop

Sharing Your Green Shop

Sharing your green shop
มาแนะนำร้านกรีนสุดโปรดของคุณกันเถอะ

มาช่วยกันแชร์ข้อมูลของร้านกรีน ๆ ที่คุณ รู้จัก ให้กลายเป็นคอมมูนิตี้ที่ทุกคนสามารถ ค้นหาร้านกรีน ๆ ที่อยู่ใกล้ตัวคุณ

เริ่มเลย!

Shade of Green

คุณคิดว่าตัวเองมีความกรีนแค่ไหน?

Play Quiz!